จอดรถทุกครั้งจำเป็นต้องใส่ "เบรกมือ" หรือไม่?
พ.ค. 13
File Download : {title} {/CONTENTS_FILE}

เจ้าของรถทุกคนคงทราบกันดีอยู่แล้วว่าการใส่เกียร์ "P" จะทำให้รถไม่สามารถขยับเคลื่อนที่ได้ ถ้าอย่างนั้น "เบรกมือ" มีหน้าที่อะไรกันแน่? แล้วเราจำเป็นต้องใส่เบรกมือทุกครั้งที่จอดรถไหม?

     ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า การใส่เกียร์ P ทุกครั้งที่จอดรถ จะช่วยไม่ให้รถไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ไม่ว่าจะเป็นทางเรียบหรือทางลาดชันก็ตาม (การจอดรถกีดขวางคันอื่นในห้างสรรพสินค้าจึงไม่ควรใส่เกียร์ P โดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้รถที่อยู่ในซองไม่สามารถออกได้) แต่กลไกสำคัญที่ทำให้รถไม่สามารถขยับเขยื้อนได้นั้น คือ สลักล็อกที่อยู่ภายในชุดเกียร์ ซึ่งหากโชคร้ายถูกชนอย่างรุนแรง อาจทำให้สลักล็อกดังกล่าวเกิดความเสียหายได้

     ดังนั้น การจอดรถเกียร์ P ทุกครั้ง จึงควรใส่เบรกมือควบคู่กันไปด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้สลักล็อกเกียร์ทำหน้าที่แบกรับน้ำหนักตัวรถเพียงอย่างเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะจอดรถบนทางลาดชัน

การใช้เบรกมือที่ถูกต้องทำอย่างไร?

  การดึงเบรกมือควรดึงขึ้นจนสุดโดยไม่จำเป็นต้องกดปุ่ม จะมีเสียงแกร๊กๆ ตามชั้นของฟันเฟืองซึ่งไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด หากลองออกแรงเข็นรถแล้วพบว่ายังพอเคลื่อนที่ได้ แสดงว่ายังดึงเบรกมือไม่สุดพอ แต่หากมั่นใจว่าดึงเบรกมือจนสุดแล้วจริงๆ แต่รถยังพอขยับได้ นั่นแปลว่าถึงเวลาต้องนำรถเข้าอู่หรือศูนย์บริการเพื่อปรับตั้งสายเบรกมือเสียใหม่

ปลดเกียร์ P อย่างไรไม่ให้รถมีเสียง

     หากคุณจำเป็นต้องจอดรถบนทางชัน อาจเคยได้ยินเสียงดังในระหว่างดึงคันเกียร์ออกจากตำแหน่ง P ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสลักล็อกเกียร์ต้องแบกรับน้ำหนักตัวรถอยู่ตลอดเวลา เมื่อปลดคันเกียร์ออกจากตำแหน่ง P จึงเกิดการเสียดสีกันระหว่างเฟืองเกียร์จนกลายเป็นเสียงดังในที่สุด

     วิธีแก้ไข คือ หลังจากจอดรถแล้ว ให้เข้าเกียร์ว่าง เท้ายังคงเหยียบแป้นเบรก แล้วดึงเบรกมือขึ้นจนสุด จากนั้นค่อยๆ ลองปล่อยแป้นเบรกเพื่อให้มั่นใจว่ารถไม่ไหล เมื่อรถหยุดนิ่งดีแล้วจึงค่อยผลักคันเกียร์ไปที่ตำแหน่ง P (ควรเหยียบเบรกในขณะเปลี่ยนเกียร์ด้วย) กรณีรถของคุณเป็นเบรกมือไฟฟ้าก็ปฏิบัติเช่นเดียวกัน 



{/CONTENTS_IMAGE}





ติดต่อเช็คราคา